เอาล่ะและนี่คือ memo หรือบันทึกช่วยจำถ้าคุณจะต้องทำให้ Jekyll กับ GitHub Pages มาอยู่ด้วยกัน - แบบไหนนะเหรอ? นั่นคือสิ่งที่เราหมายถึงว่า website ถูกสร้างขึ้นมาด้วย Jekyll แล้วก็เอาไป host ไว้บน GitHub Pages

และจากย่อหน้านี้ก็คือการเริ่มกันซะที - หลังจากที่ได้ทำการติดตั้ง Jekyll ลงบนเครื่องของเราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนที่ 1 (PC Ubuntu): สร้าง Jekyll local site

# สร้าง Jekyll site: ./sdeesreallife.github.io (ชื่อองค์กรตามด้วย.github.io)
$ jekyll new sdeesreallife.github.io

# เปลี่ยน path ไปที่: sdeesreallife.github.io
$ cd sdeesreallife.github.io

# สั่งให้ Jekyll ทำการ build site บน local server
$ bundle exec jekyll server

# เปิด browser ไปที่: http://localhost:4000

ขั้นตอนที่ 2: สร้าง Repository บน GitHub

Login เข้าใช้งาน GitHub

คลิกที่รูป Profile ของเรา แล้วเลือก Your Profile

สร้าง Repository ขึ้นมาใหม่ในชื่อเดียวกับชื่อองค์กรตามด้วย.github.io
https://github.com/sdeesreallife/sdeesreallife.github.io

ขั้นตอนที่ 3: Commit local site ไปที่ GitHub (PC Ubuntu)

$ cd sdeesreallife.github.io
$ git init
$ git remote add origin https://github.com/sdeesreallife/sdeesreallife.github.io
$ git add .
$ git commit -m "initial commit of the Jekyll's site template."
$ git push -u origin master

# เปิด browser ไปที่:https://sdeesreallife.github.io

Tips and Tricks

เพื่อให้การใช้งาน Jekyll บน loacl site สะดวกขึ้นอีกนิด เราจะใช้ Plugin Jekyll::Livereload ร่วมด้วย

ขั้นตอนการติดตั้ง: เพิ่มบรรทัด gem 'jekyll-livereload' ในไฟล์ Gemfile และสั่ง bundle

group :jekyll_plugins do
  gem "jekyll-feed", "~> 0.6"
  gem "jekyll-livereload" # เพิ่มบรรทัดนี้ลงไป
end

$ bundle

ขั้นตอนการรัน: ใช้คำสั่ง jekyll serve --livereload หรืออีกแบบที่เพิ่มการแสดง posts ที่เป็น drafts ให้ด้วย bundle exec jekyll serve --drafts --livereload - ผลลัพธ์ที่ได้คือทุกครั้งที่เราแก้ไข local site ต่อไปนี้ Jekyll จะทำการ auto regenerated และเพิ่มการ reload หน้าเว็บให้ด้วยเลย :)