พร้อมแล้ว Ctrl+Alt+T เปิด Terminal กันขึ้นมาได้เลย ใช้คำสั่งนี้ python3 --version และ which python3 เพื่อตรวจดูการติดตั้ง Python3 บนเครื่องของเรา ซึ่งปกติจะมาพร้อมกับ Ubuntu 18.04 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

$ python3 --version
Python 3.6.5
$ which python3
/usr/bin/python3

ถัดมาเราก็จะทำ python3 ให้เป็น default ของเรา ด้วยการ nano ~./bashrc แล้วเพิ่มบรรทัดนี้ลงที่ท้ายไฟล์ alias python=python3 เสร็จแล้วก็ Ctrl+X เพื่อ Save ไฟล์ ‣ เสร็จแล้วก็สั่ง Source แล้วตรวจผลตามนี้:

$ source ~/.bashrc
$ python --version
Python 3.6.5

ต่อไปก็คือการติดตั้ง Pip ซึ่งก็คือตัวจัดการ Package ของ Python ด้วยคำสั่ง sudo apt install python3-pip -y เสร็จแล้วตรวจสอบและทำ link ตามข้างล่างนี้:

$ sudo apt install python3-pip -y
$ which pip3
/usr/bin/pip3
$ sudo ln -s /usr/bin/pip3 /usr/bin/pip
$ pip --version
pip 9.0.1 from /usr/lib/python3/dist-packages (python 3.6)

ถัดมาก็คือการติดตั้ง Virtualenv ซึ่งก็คือตัวสร้างสภาพแวดล้อม หรือ Python Environment Builder นั่นเอง (ข้อมูลเพิ่มเติมลองอ่านจากที่นี่ดูครับ - Real Python) การติดตั้งก็ด้วยคำสั่ง sudo apt install virtualenv ‣ มาถึงตรงนี้ก็ถือว่าเครื่องมือของพวกเราได้ถูกติดตั้งครบเรียบร้อยล่ะ มาลงมือสร้าง Environment สำหรับ Python และ Django กัน

ในตัวอย่างนี้จะสร้าง Path ไว้ก่อนแบบนี้ ~/.virtualenvs แล้วสร้าง Environment ด้วยคำสั่ง virtualenv --python=python3 proj-01

~$ mkdir ./.virtualenvs
$ cd ./.virtualenvs
~/.virtualenvs$ virtualenv --python=python3 proj-01
Running virtualenv with interpreter /usr/bin/python3
Using base prefix '/usr'
New python executable in /home/odd/.virtualenvs/proj-01/bin/python3
Also creating executable in /home/odd/.virtualenvs/proj-01/bin/python
Installing setuptools, pip, wheel...done.
~/.virtualenvs$

ถ้าเข้าไปดูที่ proj-01 ก็จะเห็น folders ต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมา ให้เรารัน source ./bin/activate แบบนี้

~/.virtualenvs/proj-01$ source ./bin/activate
(proj-01)~/.virtualenvs/proj-01$

จะเห็นว่า Prompt จะเปลี่ยนไปเพื่อบอกว่าตอนนี้เราอยู่ใน Environment ของ proj-01 นั่นเอง (ส่วนถ้าจะออกจาก Environment นี้ก็ใช้คำสั่ง deactivate)

เอาล่ะพอมาอยู่ใน Environment ที่สร้างมาพร้อมแล้วคราวนี้ก็มาลง Django กัน ด้วยการใช้คำสั่ง pip install django และตามด้วยคำสั่งให้สร้าง Project ชื่อ project01 ‣ django-admin startproject project01

~/.virtualenvs/proj-01$ pip install django
~/.virtualenvs/proj-01$ django-admin startproject project01
~/.virtualenvs/proj-01$ ls -la
total 28
drwxr-xr-x 6 odd odd 4096 Aug  8 18:03 .
drwxr-xr-x 4 odd odd 4096 Aug  8 17:45 ..
drwxr-xr-x 2 odd odd 4096 Aug  8 17:45 bin
drwxr-xr-x 2 odd odd 4096 Aug  8 17:45 include
drwxr-xr-x 3 odd odd 4096 Aug  8 17:45 lib
-rw-r--r-- 1 odd odd   59 Aug  8 17:45 pip-selfcheck.json
drwxr-xr-x 3 odd odd 4096 Aug  8 18:03 project01
~/.virtualenvs/proj-01$

มาถึงขั้นตอนใกล้จะสุดท้ายแล้ว ตอนนี้เราจะมาทำให้ Django ของเราถูกเรียกขึ้นมาได้จาก IP ของเรา ด้วยการเข้าไปเพิ่ม ALLOWED_HOSTS ในไฟล์ project01/settings.py นั่นเอง

~/.virtualenvs/proj-01$ cd project01
~/.virtualenvs/proj-01/project01$ nano project01/settings.py

ให้เพิ่ม IP ของเครื่องเราเข้าไป ในตัวอย่างนี้จะเป็น ALLOWED_HOSTS = ['192.168.1.39'] - วิธีดู IP ใช้ ifconfig -a (ถ้ายังเรียกไม่ได้ให้ติดตั้ง net-tools ซะก่อน ด้วยคำสั่ง sudo apt install net-tools)

เรียบร้อยแล้วก็ทำการเรียก Server ขึ้นมาด้วยคำสั่งนี้ python manage.py runserver 192.168.1.39:8000

~/.virtualenvs/proj-01/project01$ python manage.py runserver 192.168.1.39:8000
Performing system checks...

System check identified no issues (0 silenced).

You have 15 unapplied migration(s). Your project may not work properly until you apply the migrations for app(s): admin, auth, contenttypes, sessions.
Run 'python manage.py migrate' to apply them.

August 03, 2018 - 11:22:10
Django version 2.1, using settings 'project01.settings'
Starting development server at http://192.168.1.39:8000/
Quit the server with CONTROL-C.

เปิด Browser ไปที่ http://192.168.1.39:8000 ก็จะเจอกับ Django รออยู่

django

ส่งท้ายอีกนิดนึงนะครับ ถ้าจะจบการทำงานก็ Ctrl+C และดูดี ๆ นิดนึงจะมีเรื่อง Migration อยู่อีกหน่อย ก็คือตรงนี้หยุด Server ซะก่อนแล้วใช้คำสั่ง python manage.py migrate ทุกอย่างก็จะเรียบร้อยครับ