เรามาเริ่มกันที่ ISA-95 หรือ มาตรฐาน ANSI/ISA-95
- ANSI/ISA-95 คือ มาตรฐานของ The international society of automation ที่ว่าด้วยเรื่องการกำหนดมาตรฐานสำหรับการพัฒนาระบบเชื่อมต่ออัตโนมัติ ที่เชื่อมตั้งแต่การจัดการองค์กร - บนสุด (Enterprise) - ระบบควบคุม (Control Systems) - ลงไปถึงล่างสุดที่เป็น Physical ในสายการผลิต เข้าด้วยกัน
- ANSI/ISA-95 ได้แบ่งโครงสร้างของระบบออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้คือ
Level 4 | ชั้นบนสุด คือ Enterprise / Business Operations | สมองขององค์กร |
Level 3 | ถัดลงมา คือ Manufacturing Operations Management หรือ MOM | ตัวจัดการเรื่องราวเก็บข้อมูลมาจากชั้นล่าง บริหารจัดการข้อมูล แล้วส่งต่อขึ้นไปให้สมองขององค์กรวางแผน บริหาร จัดการ ตัดสินใจ สั่งการ |
Level 0,1,2 | ถือเป็นส่วนล่างสุดที่พูดโดยรวมถึง Industrial Automation | เป็นส่วนของอุปกรณ์ในสายการผลิตและชุดควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้ |
ขอบคุณภาพจาก researchgate.net
ลองมาดูรายละเอียดเพิ่มกันว่าแต่ละชั้นเป็นยังไง และเราเคยพอจะรู้จักอะไรในแต่ละชั้นกันแล้วบ้าง
Level 4 : ที่นี่จะมี Business Application ต่าง ๆ สำหรับงานในภาพของ Enterprise และ Business Operations ซึ่งก็คือ Business Planning & Logistics - ตรงนี้จะมีชื่อที่ได้ยินก็เช่น
Level 3 : ที่นี่คือ MOM Applications หรือ Manufacturing Operations Management Applcation ต่าง ๆ นั่นเอง - มีอะไรบ้างเหรอ? ก็เช่น
- WHM, Document Management / Scheduling, Dispatching / MRP, IEM SmartGrid, TIS
- Configure, Model, RTO, APC / Asset Tracking, Mobile, RFID / MES, EWI, Tracking, Batch
- EMI / OI, Historian, Reporting, OEE / W.O., RCM, Equipment Health / Time Track, Training, OTS
- SPC/SQC, HACCP, LIMS
เพิ่มเติมในส่วนของ MOM:
Level 2 : เป็นส่วนของ Manufacturing Control ตรงนี้มีอะไรบ้าง ก็อย่างเช่น
- HMI (Human-Machine Interface)
- SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition)
- DCS (Distributed Control System) - ซึ่งลงไปถึง Level 1 ด้วยก็ได้
Level 1 : ตรงนี้เป็นส่วนของ Sense & Manipulate ก็ประมาณ IT Automation, I/O Module ต่าง ๆ เช่น
- PAC (Programmable Automation Controller)
- PLC (Programmable Logic Control)
- RTU (Remote Terminal Unit)
- PID Controller (Proportional-Integral-Derivative Controller หรืออีกชื่อคือ Three-Term Controller)
Level 0 : ตรงนี้เป็นส่วนของ Production Process ซึ่งก็จะมี Sensor ต่าง ๆ อย่างเช่น ตัววัดอุณหภูมิ, Control Valve และ/หรือ คน ที่เป็นการทำงานจริง ๆ กับ วัตถุดิบ ชิ้นงาน ผลงาน อะไรต่าง ๆ แบบนี้ล่ะ
เอาล่ะน่าจะพอไหว ประมาณว่าก็พอรู้อะไร ๆ เยอะขึ้น เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ได้ยินชื่อ หรือเห็นคำต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งแต่ละชื่อ แต่ละคำ ถ้าเจอก็จะได้รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน อยู่ในส่วนของ Level อะไร มีหน้าที่ เป้าหมาย และใช้งานให้เกิดอะไร คราวนี้ที่เหลือก็คือทำความคุ้นเคยในแต่ละชื่อ และหาข้อมูลในแต่ละส่วนเพิ่มเติม - นี่ล่ะ Computer Engineering ที่ผสมด้วย Manufacturing และขยับมาถึง Automation Engineering ในที่สุด
ทั้งหมดนี้ก็ได้แต่ขอให้ เทคโนโลยี / มนุษย์ / สิ่งแวดล้อม ได้เจริญรุ่งเรืองไปด้วยกันโดยพร้อมเพรียงเทอญ